หน่วยที่ 1

จงเข้าใจธรรมชาติของอารมณ์
การเรียนรู้และเข้าใจธรรมเจริญของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะช่วยให้เรามองเห็นช่องทางในการบริหารจัดการกับมันได้ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราไม่เข้าใจธรรมชาติของสิ่งนั้นแล้ว เราคงไม่สามารถจัดการกับมันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก เช่น ถ้าเราไม่รู้ว่าทำไมต้นไม้ที่เราปลูกไว้หลังบ้านจึงเหี่ยวเฉาก็เพราะเราไม้ได้รดน้ำมาหลายวัน ถ้าเรารู้ข้อมูลหรือธรรมชาติของมันเช่นนี้แล้ว เราคงจะจัดการได้ไม่ยากเย็นนัก
                อารมณ์ของคนเราก็เหมือนกัน ถ้าเราไม่รู้ว่าธรรมชาติของมันเป็นอย่างไร เราคงไม่สามารถตามอารมณ์ได้ทัน และคงไม่สามารถจัดการณ์กับมันได้เช่นกัน อารมณ์ก็เหมือนกับลูกน้องเราคนหนึ่ง ถ้าเราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเขาเลย เราคงไม่สามารถบริหารเขาได้
                อารมณ์มีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่าง เช่น
- เกิดมาพร้อมกันทุกคน ไม่มีการแบ่งชนชั้นวรรณะ เพศและวัย
- อารมณ์ไม่เคยมีการแจ้งล่วงหน้า ไม้ได้นัดหมาย ส่วนใหญ่แล้วอารมณ์จะมาหาเราแบบสายฟ้าแลบ มาแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว
- อารมณ์สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่มีเว้นวันหยุด ไม่เลือกเวลา บุคคลและสถานที่
- อารมณ์มีทั้งดีและไม่ดี ไม่มีใครที่มีอารมณ์ดีตลอดชีวิต ในทางกลับกัน คงไม่มีใครที่มีแต่อารมณ์ดีตลอดเลาแม้กระทั่งคนสติไม่ดี (คนบ้า)
- อารมณ์เก็บออมไม่ได้ วันไหนเรามีอารมณ์ดี มีความสุข บอกว่าจะขอเก็บอารมณ์แห่งความสุขนี้ไว้ใช้ในวันอื่นบ้างก็คงไม่ใช่
- ยืมไม่ได้ เราเห็นเพื่อนบางคนอารมณ์ดีทั้งวัน เราจะไปขอยืมมาใช้บ้างไม่ได้ มันเป็นความสามารถเฉพาะตัว เราเองก็ไม่สามารถให้เพื่อนยืมอารมณ์ของเราได้เช่นกัน
- ขายไม่ออก อารมณ์ไม่สามารถขายได้ แต่ที่เราอ่านหนังสือตลกหรือเราดูตลกชายคานั้น เป็นเพียงการขายสิ่งที่มากระตุ้นมากกว่า เพราะถ้าอารมณ์ตลกขายได้จริง เวลานักแสดงตลกแสดงออกมาแล้วทุกคนต่างขำ แต่ในความเป็นจริงแล้ว บางคนก็รู้สึกเฉยๆ แสดงว่าตัวตลกขายไม่ได้ทุกคนจริง
                เหมือนกับคนขายก๋วยเตี๋ยวที่เขาปรุงมารสชาติเหมือนกันทุกชาม แต่ความอร่อยหรือไม่อร่อยก็อยู่ที่การเติมแต่งของตัวผู้กินนั่นเอง
                ธรรมชาติของอารมณ์อย่างหนึ่งที่เราควรจะเข้าใจ คือกระบวนการในการณ์เกิดอารมณ์ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.             การรับรู้สิ่งกระตุ้น
สิ่งกระตุ้นส่วนใหญ่เกิดจากการรับรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์หรือการณ์กระทำของสิ่งเร้าภายนอก อาจเป็นคน สัตว์ สิ่งของหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา
2.             การณ์ปรุงแต่ง
บางครั้งการณ์ปรุงแต่งเกิดจากจินตนาการของตัวเอง โดยไม่ต้องมีสิ่งเร้าภายนอกเข้ามา แต่อารมณ์ส่วนใหญ่มักจะได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งกระตุ้นจากภายนอกก่อน แล้วสิ่งกระตุ้นนั้นจะถูกปรุงแต่งโดยความเชื่อ ทัศนคติ ความรู้สึก ประสบการณ์เดิม และอุปนิสัยของตัวเอง เช่น เมื่อถูกหัวหน้าตำหนิ ก็มักจะคิดต่อไปว่าแสดงว่าหัวหน้าจะบีบให้เราลาออกเองโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเพราะได้ยินข่าวมาว่าบริษัทจะลดกำลังคน หรือสงสัยเพื่อนร่วมงานของเราคงจะไปเป่าหูหัวหน้า เพราะเมื่อวันก่อนเราเห็นเพื่อนคนนั้นนั้งคุยกับหัวหน้าในห้องอยู่เป็นเวลานาน แต่พอเดินเข้าไปเขาก็เลิกคุยกันทันที สงสัยว่าจะคุยกันเรื่องของเราแน่ๆ สิ่งเหล่านี้เราเรียกว่า “ การณ์ปรุงแต่งทางอารมณ์ ”หรือ “ การคิดไปเอง ”
3.             พฤติกรรมการแสดงออก
เมื่อสิ่งกระตุ้นได้รับการณ์ปรุงแต่งเรียบร้อยแล้ว คนก็มักจะกำหนดทางเลือกในการณ์แสดงทางอารมณ์ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะแสดงออกให้เห็นทางพฤติกรรม ไม่ว่าจะเป็น สีหน้า แววตา ท่าทาง หรือน้ำเสียง
เมื่อเราทราบว่า ต้นตอของอารมณ์เกิดจากปัจจัยสามประการณ์นี้ คงจะพอคาดเดาได้แล้วว่า ถ้าเราจะ
จัดการณ์กับอารมณ์ของเราควรจะต้องทำอย่างไร เช่น หลีกเลี่ยงการรับสิ่งกระตุ้น แนวทางนี้คงจะทำได้บ้างแต่ไม่ทั้งหมด หรือ ลด ละ เลิกการณ์ปรุงแต่งอารมณ์ แนวทางนี้สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
                ดังนั้น ถ้าเราเข้าใจองค์ประกอบของอารมณ์ได้อย่างชัดเจนแล้ว เราสามารถเลือกที่จะจัดการณ์กับมันในขั้นตอนไหนก็ได้ หรืออาจจัดการณ์กับอารมณ์ไปพร้อมๆกันทั้งสามขั้นตอนก็ได้

แหล่งที่มา   ณรงค์วิทย์  แสนทอง (2547).EQ ดี อารมณ์ดี ชีวิตสดใส.พิมพ์ที่ ออฟเซ็ท ครีเอชั่น จำกัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น