หน่วยที่ 2

อย่าจินตนาการเอาเอง
                ระดับความรุนแรงของอารมณ์ มักจะเกิดจากการที่เราปรุงแต่งขึ้นมาเองมากกว่าสิ่งกระตุ้นจากภายนอก ถ้าเราโดนหัวหน้าดุด่านิดหน่อยก็คิดมากอยู่หลายวัน กังวนว่าจะถูกให้ออกจากงาน เท่านั้นยังไม่พอ ยังคิดต่อไปอีกว่าถ้าถ้าออกจากงานแล้ว จะเอาเงินที่ไหนใช้ จะหางานใหม่ได้หรือไม่ ครอบครัวจะอยู่อย่างไร ฯลฯ
                ที่คิดเช่นนี้เพราะว่าเพื่อนๆ และเราเคยเห็นภาพความยากลำบากมาก่อน จึงทำให้ภาพเหล่านั้นติดตาอยู่ในสมองของเราตลอดเวลา เมื่อเวลาถูกหัวหน้าดุด่า ข้อมูลเดิมที่มีอยู่จะถูกกระตุ้นกลับมาใช้ใหม่ที่รุนแรงกว่าเดิมเพราะมีการณ์เติมแต่งมาแล้ว
                สิ่งสำคัญในการณ์ ลดหรือเลิกการณ์จินตนาการณ์ ได้คือ การณ์หาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงในเรื่องที่เรากังวลใจอยู่ หรือถ้าถูกหัวหน้าด่า ก็กลับไปนั่งทบทวนก่อนว่าที่หัวหน้าด่านั้นหัวหน้าเขาด่าเรื่องอะไรเรานั้นได้ทำผิดจริงอย่างที่หัวหน้าเขาด่าหรือป่าว หรือเขาแค่สั่งสอนให้เราทำในสิ่งที่ถูกต้องแค่นั้นเอง หรือถ้าเขาดุด่าในเรื่องที่เราผิดจริงก็เดินกลับไปขอโทษเขาแล้วทุกอย่างก็จะดีขึ้นไปเองตามระดับ
                ยิ่งเรามีข้อมูลและข้อเท็จจริงมากเท่าไหร่ จะช่วยป้องกันไม่ให้ประสบการณ์เดิม ความรู้สึก อคติ และความเชื่อของเราสอดแทรกเข้ามาเติมแต่งเรื่องของเราได้ ตัวอย่าง เช่น เรากำลังมีความทุกข์เรื่องไดเรื่องหนึ่งอยู่แล้ว หมอดู ( รวมถึงหมอเดา ) มาทำนายว่าเราจะดวงไม่ดีอย่างนั้น ชะตาไม่ดีอย่างนี้รับรองได้ว่าคนที่กำลังมีทุกข์อยู่ในขณะนั้นก็คงจะเกือบชอกไปชั่วขณะ เพราะการที่เราเชื่อกับการณ์ที่เรายังไม้รู้ว่าความจริงมันเป็นแบบไหนอย่างไร แต่เราได้ฟังจากหมอดูหรือหมอเดาแล้วเราคิดว่ามันต้องเกิดขึ้นจริงแน่นอนก่อนที่เราจะก้าวเดินไปข้างหน้าหาความจริงเราก็ไม่กล้าเดินไปเพราะเกิดจากความเชื่อในช่วงขณะหรือ( เชื่อแบบงมงาย )
                แต่ถ้าเรามีข้อมูลหรือข้อเท็จจริงมากพอ และพบว่าหมอดูหรือหมอเดา คนนั้นทำนายผิดมานักต่อนักแล้ว และเรามีข้อมูลว่าสิ่งที่เขาพูดมานั้นเป็นไปไม่ได้เลย เช่น ถ้าเขามาบอกเราว่า “ถ้าเราไม่หาไก่ดำมาเส้นไหว้แล้ว สามีเราจะไปมีภรรยาน้อยภายใน 3 วัน 7 วัน” แต่ถ้าเรามีข้อมูลชัดเจนว่าสามีเรามีภรรยาน้อยอยู่แล้ว (ตั้งหลายคน) อย่างนี้เราก็คงไม่เชื่อ หรือถ้าในความเป็นจริงแล้ว สามีเราเป็นอมพาตนอนอยู่บ้านเป็นปีๆแล้ว และไม่มีโอกาสหายอย่างแน่นอน อย่างนี้เราก็คงไม่เชื่อเมือนกัน
                สรุป การณ์ที่คนเราจะจินตนาการณ์อะไรแล้วก่อให้เกิดอารมณ์ในขนาดที่รุนแรมมากขึ้นนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการณ์ ขาดข้อมูลและข้อเท็จจริง จึงเปิดโอกาสให้เราเปิดประสบการณ์เดิม ทัศนคติ และความเชื่อส่วนบุคคลมาตัดต่อเรื่องนั้นๆขึ้นมาเอง
                การณ์มีข้อมูลมากอันพอเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถทำให้เราลดการณ์จินตนาการณ์ลงได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งคือ อย่าพยายามทำใจให้ว่าง เนื่องจากในตอนที่จิตใจของเรากำลังมีความทุกข์นั้น เปรียบเสมือนกับร่างกายของเรากำลังอ่อนแอ อารมณ์ซึ่งเปรียบเสมือนกับเชื้อโรคมีโอกาสที่แทรกเข้ามาในร่างกายของเราได้ง่ายกว่าปกติ อารมณ์ของเราจะอาศัยตอนที่ใจเราว่างเข้าไปยึดพื้นที่ทำการสร้างจินตนาการณ์ทันที ดังนั้นเวลาเครียดหรือมีความทุกข์ จงพยายามอย่าทำใจให้ว่าง อาจต้องทำกิจกรรมอื่นๆ หรือพูดคุยกับคนรอบข้างให้มากขึ้นอย่าพยายามอยู่คนเดียว
                การณ์ลดการณ์จินตนาการณ์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอารมณ์ที่รุนแรงขึ้นนั้น เราจะมีการควบคุมทั้งสองด้านคือ พยายามหาข้อมูลและข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นๆให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และในขนะเดียวกัน ต้องพยายามใช้งานพื้นที่ในสองให้เต็มประสิทธิภาพ อย่าพยายามให้สมองว่าง มิฉะนั้นแล้วจะโดนอารมณ์ เข้ายึดครองพื้นที่ในสมองเราได้ จะทำให้ยากต่อการแก้ไข อาจจะยากต่อการไล่ที่คนเช่าบ้านที่ไม่ยอมย้ายออกเสียอีกก็ได้

แหล่งที่มา   ณรงค์วิทย์  แสนทอง (2547).EQ ดี อารมณ์ดี ชีวิตสดใส.พิมพ์ที่ ออฟเซ็ท ครีเอชั่น จำกัด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น